โรคจากการเดินทาง รถติด นั่งนาน ๆ เดี๋ยวสุขภาพก็พัง

 

โรคจากการเดินทาง รถติด นั่งนาน ๆ เดี๋ยวสุขภาพก็พัง !

รถติด เดินทางไกล ปัญหาที่ใครต่อใครเจอกันอยู่ทุกวัน หารู้ไม่ว่าสิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้มากกว่าการ­­­­­­เสียเวลาอีก

1. ทำสาว ๆ สุขภาพจิตเสีย

เนื่องจากระยะเวลาในการเดินท­­­­าง เพราะต้องใช้เวลาในช่วงเช้าดูแลและไปส่งบุตรหลาน ทำให้เวลาที่เหลือในการเดินทางไปทำงานลดลง ส่งผลให้ความเครียดที่กลัวว่าจ­ะไปทำงานไม่ทันเพิ่มขึ้นและส่งผลให้สุขภาพจิตเสียไปทั้งวันนั่­­­­­น­เองค่ะ

2. อ่อนเพลียและพักผ่อนไม่เพียงพอ

การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะหรือแม้แต่การใช้รถส่วนตัวมีควา­­­­­­มเชื่อมโยงถึงความเครียดที่มากเป็นพิเศษ รวมทั้งอาการอ่อนเพลียและการพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยในการศึกษายังพบด้วยว่าคนที่ใช้ยานพาหนะมักจะมีปัญหาสุขภาพมากกว่าผู้ที่เดินทางไปทำงานด้วยการเดินหรือการขี่จักรยานค่ะ

3. เสี่ยงหัวใจวายจากมลพิษทางจราจร

การหายใจเอาควันมลพิษที่มาจากการจราจรที่ติดขัดนั้นสามารถ­­­­­­เพิ่มความเสี่ยงหัวใจวายสูงขึ้นภายในเวลา 6 ชั่วโมง แต่หลังจากนั้นความเสี่ยงหัวใจวายจะค่อย ๆ ลดลง ซึ่งนักวิจัยได้เปิดเผยว่ามลพิษทางอากาศนั้นไม่ใช่สาเหตุที่ทำใ­­­­­­ห้เกิดอาการหัวใจวายแต่เป็นปัจจัยที่ช่วยเร่งให้อาการหัวใจวาย­­­­­เ­กิดเร็วขึ้นได้ค่ะ

4. น้ำหนักขึ้น

พบว่าคนที่ต้องเดินทางไกลกว่า 15 ไมล์ (ประมาณ 24 กิโลเมตร) เป็นประจำทุกวันมีแนวโน้มว่าจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เพราะการที่จะต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางที่ยาวนานส่งผลให้คนเ­­­­­­รามีเวลาออกกำลังกายลดลง นอกจากนี้ผู้ที่เดินทางไกลยังมีแนวโน้มที่จะมีความดันโลหิตสูงอีกด้วย

5. เพิ่มความเสี่ยงในการหย่าร้าง

เอ๊ะ...ฟังดูไม่น่าจะเกี่ยวกัน แต่ก็เป็นเรื่องจริงค่ะ โดยนักวิจัยชาวสวีเดนจากมหาวิทยาลัย Umea University พบว่าการใช้เวลาในการเดินทางนาน ๆ มีความเชื่อมโยงกับการหย่าร้าง โดยในการศึกษาพบว่าคู่รักที่ต้องเดินทางเป็นระยะทางไกล ๆ มีความเสี่ยงถึง 40% ที่จะเกิดการหย่าร้างมากกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ยังพบอีกว่าการช่วงเวลาที่เสี่ยงมากที่สุดก็ในช่วงเวล­­­­­­า 2 - 3 ปีแรกที่จะต้องเดินทางร่วมกันค่ะ

6. ความรู้สึกอยากมีส่วนร่วมลดลง

การศึกษาในปี 2008 ได้แสดงให้เห็นว่าระยะทางในการเดินทางสามารถส่งผลต่อความรู้สึก­­­­­­อยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมได้ โดยจากการรวบรวมข้อมูลจากกว่า 2,001 ครัวเรือน พบว่า หากการเดินทางเพื่อไปทำกิจกรรมต่าง ๆ นั้นยาวนานกว่า 20 นาที ความรู้สึกที่อยากจะเป็นส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ก็จะยิ่งลดลง และหากนานกว่า 90 นาที ก็อาจจะทำให้ความรู้สึกอยากทำกิจกรรมเหล่านั้นหมดไปเลยก็เป็นได้

7. ความเครียดเพิ่มขึ้น

การที่จะต้องใช้เวลาในการเดินทางนาน ๆ โดยไม่สามารถทำอะไรได้ ส่งผลให้คนเรารู้สึกอึดอัดและเครียดมากขึ้น เมื่อทำการตรวจวัดระดับการเต้นของหัวใจในกลุ่มอาสาสมัครที่ใช้เ­­­­­­วลาการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วนก็จะพบว่าพวกเขามีอัตราการเต้น­­­­­ข­องหัวใจที่สูงกว่าคนปกติทั่วไปอีกด้วยค่ะ

แม้เราจะไม่สามารถหาทางเลี่ยงการเดินทางที่ใช้ระยะเวลานานอย่าง­­­­­­เช่นการเดินทางไปเรียนหรือไปทำงานได้ แต่ก็ใช่ว่าเราต้องยอมรับกับปัญหาสุขภาพที่ตามมานะคะ แทนที่เราจะใช้เวลาไปเปล่า ๆ บนรถระหว่างรถติดก็ลองหา

กิจกรรมเล็ก ๆ น้อย อย่างเช่นยืดกล้ามเนื้อแขน หรือบิดตัวไปทางซ้ายทีขวาที เพื่อยืดกล้ามเนื้อสักนิด ก็สามารถช่วยผ่อนคลายและลดความเครียดได้มากเลยทีเดียวล่ะค่ะ อย่าปล่อยให้สุขภาพและเวลาในช่วงรถติดเสียเปล่ากันเลยดีกว่าเนอ­­­­­­ะ