วิธีลดความอ้วนเพราะฮอร์โมนกับ 5 ปัญหาสุขภาพที่ทำลายหุ่นสวยให้พัง!
1. เนื้อปลิ้นบริเวณขอบชุดชั้นในหรือเต้านม
เนื้อปลิ้นรอบเต้านมหรือขอบชุดชั้นใน มีฮอร์โมนสาเหตุมาจากไทรอยด์ โดยต่อมไทรอยด์ที่อยู่บริเวณลำคอจะมีหน้าที่ในการควบคุมการเผาผลาญพลังงานภายในร่างกาย หากไทรอยด์ทำงานต่ำลงไขมันก็จะสะสมตามสัดส่วนต่างๆ ได้มากขึ้น แต่กรณีของผู้หญิงเรานั้นมักจะพบไขมันสะสมตามบริเวณรอบชุดชั้นในนั่นเอง
วิธีแก้ไข
- เลี่ยงการใช้วัตถุดิบอาหารที่มีส่วนผสมของสารดังกล่าว เช่น พืชตระกูลกะหล่ำ ถั่วและพีช
- เลือกใช้น้ำมันคุณภาพการเลือกใช้น้ำมันทำอาหารอย่างน้ำมันถั่วเหลืองหรือน้ำมันเมล็ดทานตะวันก็ แนะนำให้เลือกใช้น้ำมันมะกอกแบบ Extra-Virgin สำหรับทำน้ำสลัด และในกรณีอาหารผัด ทอดก็ควรเลือกใช้Light Extra-Virgin ค่ะ
2. ห่วงยางรอบเอว
ห่วงยางรอบเอวมีฮอร์โมนสาเหตุมาจากอินซูลิน สำหรับหน้าที่ของอินซูลินนั้นคือ มันจะย้ายกลูโคสออกจากกระแสเลือดเพื่อไปเก็บไว้ใช้งานภายในเซลล์ของร่างกายต่อไป กลูโคสที่เหลือค้างอยู่ก็จะกลายมาเป็นไกลโคเจนในเซลล์ และระดับของอินซูลินนั้นก็จะเพิ่มขึ้นไปตามอายุของคนเรา และยิ่งหากเรากินแป้งมากขึ้น ระดับอินซูลินก็จะเพิ่มสูงตาม ทำให้เกิดเนื้อปลิ้นรอบเอวหรือที่เรียกกันว่าห่วงยางรอบเอวตามมา นอกจากนี้แล้ว ยังทำให้คุณมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้ด้วย
วิธีแก้ไข
- แบ่งอาหารออกเป็นมื้อย่อย แต่กินบ่อยครั้ง วิธีนี้จะช่วยรักษาระดับของกลูโคสในเลือดได้ แต่ต้องกินอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำเท่านั้น
- กินโครเมียม สำหรับแร่ธาตุชนิดนี้พบได้จากเนื้อไก่ จมูกข้าวสาลีและข้าวโพด กินแล้วมันจะช่วยรักษาระดับไขมันในเส้นเลือดได้
3. พุงยื่น
พุงยื่นมีฮอร์โมนสาเหตุมาจากคอร์ติซอลสำหรับฮอร์โมนชนิดนี้จะเพิ่มสูงขึ้นก็ต่อเมื่อคุณเกิดอาการเครียด เพราะเมื่อใดที่เราเครียด ร่างกายมันจะปล่อยน้ำตาลให้เข้ามาสู่กระแสเลือด ส่งผลให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้น เมื่อน้ำตาลถูกขับออกมามากจะยิ่งทำให้เกิดการสะสมบริเวณหน้าท้อง บวกกับไลฟ์สไตล์ของคนที่ต้องนั่งทำงานไปวันๆ ไม่มีเวลาออกกำลังกายเพื่อให้เกิดการเผาผลาญ ทำให้เกิดน้ำตาลสะสมและทำให้มีปัญหาพุงยื่นได้ในที่สุด อีกทั้งเวลาเครียดเรามักจะหาทางบำบัดด้วยการกินของหวานผ่อนคลาย และนี่ก็คืออีกหนึ่งปัญหาที่ยิ่งทำให้พุงยื่นและมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างไม่รู้ตัว
วิธีแก้ไข
- กินแมกนีเซียม เลือกกินอาหารที่มีแมกนีเซียม ได้แก่ ผักใบเขียว กล้วยหรือโยเกิร์ตค่ะ เพราะสารอาหารดังกล่าวจะช่วยกำจัดความเครียดและช่วยสร้างความผ่อนคลายให้แก่กล้ามเนื้อได้
- ผักผ่อนให้เพียงพอ การนอนไม่พอได้ผ่านการวิจัยออกมาพบแล้วนะคะว่าจะทำให้ระดับคอร์ติซอลสูงขึ้นได้แบบข้ามวันเลยทีเดียว เพราะฉะนั้น จึงควรนอนให้เพียงพอวันละ 7 – 8 ชั่วโมงก็สามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้
- ควบคุมปริมาณคาเฟอีน เพราะมีการศึกษาพบว่าคาเฟอีนก็เป็นอีกสาเหตุที่จะช่วยเพิ่มระดับคอติซอลได้สูงเช่นกัน ดังนั้น เราจึงควรควบคุมคาเฟอีนให้ร่างกายรับเพียงวันละ 1 แก้วก็พอแล้ว หรือจะหันมาดื่มชาสมุนไพรอย่างชาคาโมมายล์แทนก็นับว่าดีทีเดียว
4.สะโพกใหญ่
สะโพกใหญ่มีฮอร์โมนสาเหตุมาจากเอสโตรเจน ซึ่งเอสโตรเจนนั้นเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่จะทำให้เกิดไขมันสะสมตามบริเวณสะโพกและต้นขาได้สูง และหากผู้หญิงคนไหนมีลูกแล้วสัดส่วนดังกล่าวก็อาจจะยิ่งขยายใหญ่มากขึ้นได้ โดยในสาวๆ ที่มีปริมาณฮอร์โมนนี้เยอะมากนั้น คุณสามารถสังเกตได้จากประจำเดือนที่มาเยอะมากหรือมีขนาดหน้าอกที่ใหญ่มากนั่นเอง
วิธีแก้ไข
- กินอาหารออรแกนิกส์มากขึ้น เนื่องจากผู้หญิงบางคนร่างกายอาจผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนมากกว่าปกติ อีกทั้งสารปรุงแต่งอย่างพลาสติกหรือสารที่มาจากเครื่องสำอางก็สามารถเข้ามาแทรกแซงฮอร์โมนภายในร่างกายได้ ทำให้เกิดการเข้าไปบล็อกการสร้างฮอร์โมนตามแบบธรรมชาติ จริงอยู่ที่เราไม่อาจป้องกันให้ร่างกายได้รับสารเคมีเหล่านี้ หากก็ลดความเสี่ยงได้ด้วยการเลือกกินอาหารออร์แกนิกส์ให้มากขึ้นและหลีกเลี่ยงอาหารแพ็กเกจที่มีสารเคมีเจือปนค่ะ
- กินโพรไบโอติกส์ เพราะเอสโตรเจนนั้นจะถูกขับออกมายังลำไส้ แต่หลายครั้งหากมีสารนี้มากเกินไปมันก็จะเข้าไปบล็อกให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติขึ้นจนก่อให้เกิดอาการท้องอืดแน่นและมีปัญหาท้องผูกตามมา ดังนั้น คุณจึงควรกินอาหารที่มีโพรไบโอติกส์อย่างโยเกิร์ตมากขึ้น ซึ่งโยเกิร์ตนั้นจะมีเชื้อจุลินทรีย์ที่จะช่วยเสริมสร้างความสมดุลให้แก่แบคทีเรียในลำไส้และช่วยกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้นด้วยนั่นเอง
- กินวิตามินบี วิตามินบีเป็นสารอาหารที่จะช่วยเปลี่ยนเอสโตรเจนที่ยังค้างอยู่ในลำไส้ให้เกิดสภาพที่อ่อนตัวและย่อยสลายได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้น จึงควรหามากินผักใบเขียว กล้วย ถั่วเหลืองและโฮลเกรนให้มากๆ
5. ต้นแขนหย่อนคล้อย
ต้นแขนหย่อนคล้ายมีฮอร์โมนสาเหตุมาจากเทสโทสเทอโรน ปกติแล้ว นี่เป็นฮอร์โมนที่พบในผู้ชายเสียส่วนใหญ่ แต่ในผู้หญิงก็มีอยู่บ้างเล็กน้อยเช่นกัน โดยมันผลิตขึ้นจากต่อมหมวกไตและรังไข่ จึงสามารถเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ กระดูก การทำงานของสมองและช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศได้สูง หากร่างกายได้รับเทสโทสเทอโรนไม่เพียงพอก็จะทำให้ท้องแขนมีความหย่อนยานไม่กระชับ และสาเหตุที่หนุ่มๆ ไม่มีปีกย้วยๆ ใต้แขนนั่นก็เพราะร่างกายของเขามีเทสโทสเทอโรนอยู่ปริมาณสูงนั่นเองอย่างไรก็ดี หลังจากอายุ 40 ปีขึ้นไปแล้ว ฮอร์โมนนี้จะมีเหลืออยู่เพียงแค่ครึ่งเดียวจากช่วงอายุ 20 ปี จึงส่งผลให้ต้นแขนสาวๆ เกิดความหย่อนหยาน มีอาการเหนื่อยหน่ายง่ายและยังมีความต้องการทางเพศลดลงอีกด้วย
วิธีแก้ไข
- ควบคุมระดับน้ำตาล เมื่อระดับกลูโคสในเลือดเพิ่มขึ้นสูง การผลิตเทสโทสเทอโรนก็ย่อมต่ำลง เพราะฉะนั้น จึงควรควบคุมระดับน้ำตาลให้คงที่ โดยลดการกินแป้งและน้ำตาล ให้หันมากินอาหารประเภทโฮลวีทหรือโฮลเกรนแทน
- เพิ่มโอเมก้า-3 แนะนำให้กินปลาทะเลอย่างปลาแซลมอน ปลาทูหรือแมคเคอรอล อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สลับกันกับการกินปลาเนื้อขาว อย่างเช่น ปลากะพงหรือปลาเก๋า 2 ครั้งต่อสัปดาห์
- ยกน้ำหนัก การออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนักนับเป็นการบริหารกล้ามเนื้อที่ได้ผลดี โดยจะช่วยให้ระดับเทสโทสเทอโรนเพิ่มสูงขึ้นได้ ซึ่งสาวๆ ควรออกกำลังกายและควรยกเวทอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์
สำหรับ 5 ปัญหาภายในร่างกายที่มาพร้อมไขมันสะสมตามสัดส่วนต่างๆ หรือเกิดภาวะกล้ามเนื้อหย่อนยานไม่กระชับเหล่านี้ สาวๆ คงทราบดีแล้วว่ามันเกิดมาจากฮอร์โมนใดที่มากเกินไป เมื่อทราบดังนี้แล้ว ก็อย่าลืมหยิบเอาวิธีแก้ไขให้ตรงจุดไปใช้กันทุกวันนะคะ รับรองค่ะว่าการลดน้ำหนักคราวหน้าจะนำมาซึ่งผลลัพธ์อันน่าพึงพอใจไม่น้อยแน่นอน